วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

23 กันยายน 2558

จับคู่เวลา 16.00 น.
ทายภาพ ป้ายจราจร 30 ป้าย

"การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning)"

*** ทฤษฎีการถ่ายโยงการเรียนรู้ *** 
1. ทฤษฎีองค์ประกอบเดียวกัน (Identical-elements) ของ Edward Lee Thondike, 1913
2. ทฤษฎีการสรุปรวม (Generalization)
3. ทฤษฎีความคล้ายคลึงกันของการประมวลผลสารสนเทศ (Similarity of information processing)

*** ทฤษฎีองค์ประกอบเดียวกัน (Identical-elements) *** 
เชื่อว่าการถ่ายโยงเกิดขึ้นเมื่อองค์ประกอบในสถานการณ์แรกเหมือนกับองค์ประกอบในสถานการณ์ใหม่ ผู้สอนควรสอยความรู้และทักษะในชั้นเรียนให้เหมือนกับที่พบในชีวิตประจำวัน

*** การสอนให้เกิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ *** 
- .ในการสอนควรชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะนำไปใช้ได้ในอนาคตและควรจะให้โอกาสฝึกหัดจนจำได้
- การสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
- สอนในสิ่งที่ผู้เรียนจะนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้โดยตรง
- สอนหลักการ วิธีดำเนินการ ทักษะ และวิธีการแก้ปัญหา ที่ผู้เรียนจะสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่
- จัดสภาพในโรงเรียนให้คล้ายคลึงกับชีวิตจริงที่นักเรียนจะไม่ประสบนอกโรงเรียน เช่น ถ้าต้องการให้ผู้เรียนรู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ควรจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่ม มีการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรู้จักยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
- ควรจัดให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกหัดงานที่จะต้องออกไปทำจริง ๆ จนมีความมั่นใจ
- เมื่อสอนหลักเกณฑ์หรือความคิดรวบยอด ควรจะให้โอกาสนักเรียนได้เห็นตัวอย่างหลาย ๆ อย่าง

*** ทฤษฎีความคล้ายคลึงกันของการประมวลผลสารสนเทศ ***
กิจกรรมแรก > ผู้เรียนเข้าใจหลักการ/แนวคิดของกิจกรรม > ปฏิบัติจนสำเร็จ
กิจกรรมที่สอง > ใช้พื้นฐานความรู้จากกิจกรรมแรก > ปฏิบัติจนสำเร็จ > เกิดองค์ความรู้ใหม่จากการปฏิบัติ

*** ประเภทของการถ่ายโยงการเรียนรู้ *** 
1. การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก หมายถึง การเรียนรู้เดิมที่เคยเรียนรู้แล้ว ช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ได้เร็วขึ้น เช่น ขี่รถจักรยานเป็นแล้ว ทำให้ขี่รถมอเตอไซด์เป็นได้เร็วขึ้น
2. การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ หมายถึง การเรียนรู้เดิมทำให้การเรียนรู้สิ่งใหม่ช้าลงหรือความรู้เดิมไปขัดกับความรู้ใหม่นั่นเอง เช่น เคยเปิดประตูด้วยการผลักพอเจอประตูที่ต้องดึง เรามักจะใช้ทักษะเดิมทำให้เปิดประตูได้ช้าลง

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

9 กันยายน 2558

จิตวิทยาที่ส่งอิทธิพลต่อการเรียนรู้
1. การรับรู้
2. แรงจูงใจและการจูงใจ
3. การเสริมแรง
4. แบบการเรียนรู้

การรับรู้ หมายถึง กระบวนการแปรความหมายต่อสิ่งที่รู้สึกได้จากการใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory organ) ได้แก่ ตา หู ลิ้น จมูก และร่างกาย และอวัยวะรับสัมผัสภายใน ได้แก่ ประสาทในกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อของกระดูก

การรับรู้กับการเรียนการสอน
1. ถ้าไม่มีการรับรู้ จะไม่มีการเรียนรู้
2. ยิ่งผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสมากยิ่งเรียนรู้มาก
3. การรับรู้ที่ถูกต้อง เช่น การใช้รูปภาพเพื่อสื่อความหมายต้องทำให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้เหมือนหรือใกล้เคียงกัน
4. ความคิดรวบยอดจากรูปธรรมไปนามธรรม เช่น ความกลม เป็นต้น

แรงจูงใจและการจูงใจ (Motive and motivation)
     การจูงใจเป็นกระบวนการที่ควบคุมและรักษาพฤติกรรมให้คงไว้ ตัวอย่างเช่น
A ต้องการสอบให้ได้ที่ 1 (สิ่งเร้า) ----> ขยัน อดทน พากเพียร (พฤติกรรม) ----> พ่อแม่ดีใจ (จุดมุ่งหมาย)

เทคนิคการสร้างแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้
     แรงจูงใจ (Motive) กับการจูงใจ (Motivation) นั้นแตกต่างกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก เพราะ การจูงใจ เป็นกระบวนการและเทคนิควิธีการในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้น
                        Motivation ----> Motive

ประเภทของแรงจูงใจ
1. Intrinsic motive เช่น ความรู้สึกพึงพอใจ ความภาคภูมิใจ เป็นต้น
2. Extrinsic motive เช่น คะแนน ของรางวัล คำชมเชย การยอมรับจากบุคคลอื่น

แรงจูงใจกับการเรียนการสอน
1. สนับสนุนให้ผู้เรียนทำงานและเล่นด้วยกัน
2. ปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยความจริงใจและเคารพในตัวผู้เรียน
3. ใช้สื่อการเรียนการสอนเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาโดยง่าย และเร้าความสนใจ
4. ไม่ข่มขู่คุกคามผู้เรียน
5. รับฟังความคิดเห็นของผู้เรียนแต่ละคน

การเสริมแรง (Reinforcement)
     การเสริมแรงเป็นการให้สิ่งใด ๆ หลังจากเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์แล้ว เพื่อให้แสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก สิ่งต่าง ๆ ที่ให้นั้นเรียกว่า "ตัวเสริมแรง" สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท
1. ตัวเสริมแรงทางบวก เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนพึงพอใจและแสดงพฤติกรรมนั้นอีก
2. ตัวเสริมแรงทางลบ เป็นสิ่งที่นำออกไปแล้วจะทำให้แสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์นั้นเพิ่มมากขึ้น

Positive reinforcement
1. ตัวเสริมแรงทางบวกที่เป็นสิ่งของ เช่น อาหาร ขนม ของรางวัล คะแนน ของเล่น เป็นต้น
2. ตัวเสริมแรงทางบวกทางสังคม 
3. ตัวเสริมแรงทางบวกที่เป็นกิจกรรม เช่น การเลือกทำสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ต้องการ การเล่มเกม กีฬา การสนทนากับเพื่อน

Negative reinforcement
     เป็นสิ่งที่ผู้รับต้องการหลีกเลี่ยง ไม่พึงพอใจ และหาทางออกโดยการแสดงพฤติกรรมอื่นแทน ตัวเสริมแรงทางลบ เช่น คำพูดเยาะเย้ย ประชดประชัน เสียดสี หรือข่มขู่ การวิพากษ์วิจารย์ การดุ การหักคะแนน การให้ยืนหน้าห้องเรียนหรือให้ออกนอกห้องเรียน

หลักการทั่วไปของการเสริมแรง
1. เสริมแรงทันที
2. แสดงพฤติกรรมที่ต้องการก่อนจึงจะได้รับตัวเสริมแรง
3. ระบุพฤติกรรมที่พึงประสงค์และตัวเสริมแรงให้ชัดเจน เช่น ปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะได้รางวัล
4. พฤติกรรมใกล้เคียงกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ไม่ควรเสริมแรง

Learning Styles
     แบบการเรียนรู้เป็นลักษณะหรือวิธีการจำเพาะของแต่ละบุคคลที่ใช้ในการเรียนรู้ การคิด การแก้ปัญหา ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการรับรู้ และจดจำข้อมูล ข้อเท็จจริง มโนทัศน์ต่าง ๆ ช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ของแต่ละคนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ ผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้

ปัจจัยที่ทำให้คนมีแบบการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน
1. เพศ
2. อายุ
3. ระดับการศึกษา
4. กระบวนการทางสมอง
5. วัฒนธรรม
6. ทักษะการคิด




วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

2 กันยายน 2558

แผนการสอนต้องกำหนดอะไรบ้าง
- จุดประสงค์
- สื่อการสอน (กิจกรรม)
- วัดผล

หลักการเขียนแผนการสอน
- สาระสำคัญ
- Concept
- จุดประสงค์การเรียนรู้ / จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- สาระการเรียนรู้
- กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีการสอน+กระบวนการจัดกิจกรรม+เทคนิคการสอน)
- สื่อ แหล่งการเรียนรู้ (ใบความรู้+ใบงาน+แบบฝึกทักษะ)
- การวัดประเมินผล

Bloom's Taxonomy
- Eval
- Synthesis
- Analysis
- Application
- Comprehension
- Knowledge

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- กลุ่มที่ 17 การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม คู่กับ นางสาววาริณี กุลภา รหัสนักศึกษา 5515261034